บ. เอดูโพรเกรส ขอเชิญชวนครูดนตรีและเยาวชนนักดนตรี เข้าร่วมทำกิจกรรม A Spooky Night: Make Your Own Halloween Music Challenge ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ท้าทายให้นักเรียนดนตรีสร้างบทเพลงจากไอเดียทางดนตรีต่าง ๆ รวมทั้งฝึกฝนทักษะการฟัง การอ่านโน้ต จินตนาการทางดนตรี ผ่านธีมดนตรีฮาโลวีน โดยครูผู้สอนสามารถพิจารณาปรับความยากง่ายให้เหมาะสำหรับผู้เรียนทุกวัย

ลักษณะกิจกรรม
  1. ดาวน์โหลดโน้ตเพลงสำหรับประกอบกิจกรรม โดยในโน้ตเพลงจะประกอบด้วยท่อนเพลงที่หลากหลาย ที่สามารถนำมาประกอบกันเป็นเพลงได้
  2. เพลงจะประกอบด้วยแพทเทิร์นมือซ้าย (แพทเทิร์นซ้ำ ๆ แบบ ostinato) ความยาว 4 ห้อง ที่จะซ้ำไปเรื่อย ๆ กี่รอบก็ได้
  3. สำหรับส่วนของมือขวา จะมี motif เพลงสั้น ๆ ที่หลากหลายที่บรรยายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อาจพบเห็นได้ในคืนฮาโลวีน อาทิ แมวดำ ค้างคาว เวทย์มนตร์ของแม่มด ฯลฯ ให้นำมาใส่ประกอบกับมือซ้ายในลำดับใดก็ได้ตามที่ต้องการ
  4. ทดลองฟังตัวอย่างเพลง A Spooky Night ที่แต่งขึ้นจากการนำไอเดียทางดนตรีเหล่านี้มาประกอบกัน
  5. ก่อนเริ่มเล่นกิจกรรมกับนักเรียน ให้ปริ๊นท์โน้ตเพลงและอธิบายแนวคิดของเพลงให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนดูโน้ตมือขวา พร้อมไปกับฟังเพลง A Spooky Night โดยคุณครูอาจจะลองให้นักเรียนหาว่า ท่อนเพลงมือขวาท่อนไหนปรากฏตอนไหนของเพลง สำหรับนักเรียนอายุน้อย คุณครูอาจตัดโน้ตมือขวาออกมาเป็นแผ่นเล็ก ๆ และให้นักเรียนทดลองนำมาวางเรียงต่อกันตามลำดับที่ได้ยินในบทเพลง
  6. ลองให้นักเรียนฝึกเล่นเพลงนี้ด้วยตนเอง โดยสามารถเรียงลำดับไอเดียในมือขวาได้ตามที่ชอบ อาจมีการซ้ำไอเดียเดิมหลายครั้ง หรือเปลี่ยนแปลงโน้ต จังหวะ หรือ articulation และ dynamics ได้อย่างอิสระ
  7. สำหรับนักเรียนระดับเบื้องต้น คุณครูอาจเป็นผู้เล่นแนวเบสให้ และให้นักเรียนเล่นส่วน "ไอเดียเพลง" ประกอบกันเป็นดูเอ็ต
  8. เมื่อได้เพลงของตนเองแล้ว ให้ฝึกซ้อมจนพอเล่นได้ ตั้งชื่อเพลง บันทึกวิดีโอและอัปโหลดขึ้น social media
  9. หากต้องการได้รับใบประกาศนียบัตรการร่วมกิจกรรม สามารถส่งผลงานได้ที่ https://trinitythailand.wufoo.com/forms/halloween-2023-challenge/ ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2023
  10. กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
แนวทางการสอน
  • กิจกรรมนี้อิงหลักการคิด holistic music learning ที่ใช้ส่งเสริมทักษะทางดนตรีได้หลายอย่าง อาทิ การอ่านโน้ต การฟัง เช่น การที่นักเรียนได้ลองจับคู่เสียงที่ได้ยินในเพลงตัวอย่างกับโน้ตเพลงที่เห็น เป็นการฝึกฝนการทำงานร่วมกันของทักษะการอ่านกับการฟังเสียงที่ได้ยิน
  • คุณครูอาจใช้โอกาสนี้สอน articulation แบบต่าง ๆ ให้นักเรียน ชี้ให้นักเรียนสังเกต legato, staccato, phrasing, accent รวมถึง dynamic markings แสดงความดังเบาแบบต่าง ๆ จากนั้นลองให้นักเรียนคิดถึงว่า articulation เหล่านี้สื่อสารรูปภาพต่าง ๆ ได้เหมาะสมหรือไม่ หากนักเรียนยังคิดว่าไม่ดี อาจทดลองทำเสียงแบบอื่น และลองแต่งเสียงเพื่อสื่อสารภาพเหล่านี้ด้วยตนเอง
  • คุณครูสามารถใช้โอกาสนี้แนะนำเครื่องหมายทางดนตรีต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ เช่น trill
  • ไอเดียเพลงมือขวาส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วย upbeat ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่ดีในการให้นักเรียนทำความเข้าใจจังหวะยก หรือใช้เป็นแบบฝึกหัดจังหวะหลาย ๆ แบบ
  • ไอเดียเพลงเหล่านี้สามารถใช้เป็น "สารตั้งต้น" ในการ improvise ได้ โดยอาจจุดประกายให้นักเรียนลองทำเสียงต่าง ๆ เช่น ถามนักเรียนว่า "เสียงแม่มดขี่ไม้กวาดเสียงอย่างไรดี" จากนั้นลองให้นักเรียนจินตนาการและเล่นบนเปียโน
  • อาจให้นักเรียนทดลองฝึกเขียนโน้ตที่ตนเองแต่ง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับจังหวะและสัญลักษณ์ทางดนตรีที่สัมพันธ์กับเสียง
  • การสร้างเสียงเพลงด้วยตนเอง ไม่มีผิดไม่มีถูก แต่เน้นการจุดประกายจินตนาการ สร้างความน่าสนใจและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการผลิตเสียงดนตรีของนักเรียน
เริ่มต้นเริ่มสนุกกับเทศกาลฮาโลวีนกันเลย


Download PDF File (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf)

ส่งผลงานเข้าร่วมสนุก
(หมดเขตวันที่ 31 ตุลาคม 2023)